กลุ่มที่ 1 ยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน
ซูโดอีเฟดรีน เป็นสารตั้งต้นในการผลิตยาเสพติด โดยทั่วไปยาที่มีซูโดอีเฟดรีนเป็นส่วนผสม มีการใช้ในประเทศไทยภายใต้การควบคุมกำกับในโรงพยาบาล ใช้เป็นยาแก้หวัด ลดน้ำมูก ใช้แก้หูอื้อ และบรรเทาอาการปวดหูที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความดันอากาศ เช่น ขณะนั่งเครื่องบิน ลดระดับเพดานบิน มีทั้งหมด 6 ชนิด คือ

- TYLENOL COLD
- SUDAFED
- ADVIL COLD & SINUS
- DRISTAN COLD/ “NO DROWSINESS”
- DRISTAN SINUS
- DRIXORAL SINUS
กลุ่มที่ 2 ยาแก้หวัดที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนในไทย
กลุ่มที่ 2 เป็นยาแก้หวัดที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนในไทย มีทั้งแบบน้ำ และแบบเม็ด และเป็นยาดมชนิดแท่ง (หมายเลข 10) มี 3 ชนิด คือ

8. NYQUIL
9. NYQUIL LIQUICAPS
10. VICKS INHALER
กลุ่ม 3 ยารักษาอาการท้องเสีย
ยารักษาอาการท้องเสีย ถ่ายอุจจาระเหลว ประเทศไทยพึ่งยกเลิกการขึ้นทะเบียน เนื่องจากมีสารไดเฟรอกไซเลต (diphenoxylate) จัดเป็นสารเสพติด มี 1 ชนิด คือ

อย่างไรก็ตาม ยาต้องห้ามที่นำเข้าญี่ปุ่นนั้นไม่มีขึ้นทะเบียนในประเทศไทย หมายความว่ายาที่ซื้อในไทยส่วนมากคุณสามารถพกไปได้เลย แต่การพกยาใดๆ เข้าประเทศญี่ปุ่นก็มีข้อควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
- ยารักษาที่มีใบสั่งแพทย์ต้องนำใบสั่งแพทย์นั้นติดตัวไปด้วย
- ยาต้องอยู่ในแผงยา หรือบรรจุภัณฑ์ เพื่อแสดงรายละเอียดของยาแกเจ้าหน้าที่
- จำนวนของยาจำเป็นที่ติดตัวได้ต้องใช้ได้ไม่เกิน 30 วัน
- กลุ่มยาต้องห้าม ที่เป็นกลุ่มเดียวกับยาเสพติด (มีฤทธิ์กระตุ้นประสาท หรือ ยาแก้ปวดชนิดรุนแรง) เช่น โคเดอีน (Codeine) มอร์ฟีน เมทาโดน อันเป็นยาที่แพทย์จ่ายภายใต้การควบคุมอยู่ ต้องขออนุญาตนำออกจาก- ประเทศไทยและทั้งมีใบสั่งแพทย์ถูกต้อง
- ยากลุ่มยานอนหลับเช่น Diazepam, Lorazepam และกลุ่มยารักษาโรคเครียดเช่น Fluoxetine เป็นกลุ่มยาที่ควรระวังในการพกพา
*อ้างอิงรายชื่อยาจากเว็บไซต์สถานกงสุลใหญ่ญี่ปุ่นประจำนครซีแอทเทิล
เนื่องจากรัฐบาลญี่ปุ่นมีระบบการตรวจสอบการนำเข้ายาอย่างเข้มงวด ทั้งยานำมาด้วยตัวเองทางเครื่องบินโดยสาร หรือยาที่ส่งมาทางพัสดุไปรษณีย์ สถานทูตฯ จึงขอเตือนคนไทยทุกคนให้พึงระวังการนำยาเข้ามาในประเทศญี่ปุ่น หากนำเข้ามาก็มีความเป็นไปได้ที่จะโดนควบคุมตัวและดำเนินคดีตามกฎหมายญี่ปุ่น
ข้อมูล : สถานเอกอัครราชทูตไทย กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น, www.fda.moph.go.th
ข้อมูล : https://travel.trueid.net/detail/JPNaQ8AGbo6